15 November 2004

สรุปข้อสนเทศ : MCOT

- สรุปข้อสนเทศ - บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (MCOT) ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ : เลขที่ 63/1 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320 โทรศัพท์ 0-2201-6000 โทรสาร 0-2245-1851 Website: http:www.mcot.net เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 (เริ่มทำการซื้อขายวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547) ประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียน หุ้นสามัญจดทะเบียนจำนวน 767,000,000 หุ้นมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5 บาท คิดเป็นทุนจดทะเบียนจำนวน 3,835,000,000 บาท หุ้นสามัญที่เรียกชำระแล้ว 687,099,210 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5 บาท คิดเป็นทุนชำระแล้วจำนวน 3,435,496,050 บาท ตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์ (SET) ราคาเสนอขาย 22 บาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ - บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท จำนวน 70,000,000 หุ้นคิดเป็นร้อยละ 10.2 ของ จำนวนหุ้นที่ชำระแล้วทั้งหมดภายหลังการเสนอขาย - กระทรวงการคลังเสนอขายหุ้นสามัญเดิมของบริษัท จำนวน 51,000,000 หุ้นคิดเป็นร้อยละ 7.4 ของจำนวนหุ้นที่ชำระแล้ว ทั้งหมดภายหลังการเสนอขาย - บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด ในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย จัดสรรหุ้นส่วนเกินจำนวน 18,000,000 หุ้น โดยยืมหุ้นทั้งจำนวนจากกระทรวงการคลังเพื่อส่งมอบให้กับผู้ได้รับการจัดสรร ประเภทกิจการและลักษณะการดำเนินงาน บมจ. อสมท เป็นผู้ประกอบกิจการด้านสื่อสารมวลชนรายใหญ่ที่มีสื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็น ของตนเอง และเป็นผู้ที่ให้บริการด้านสื่อสารมวลชนผ่านสื่อต่าง ๆ ในหลายรูปแบบ ได้แก่ กิจการโทรทัศน์ (ผ่านทาง สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์) กิจการวิทยุกระจายเสียง (ผ่านทางเครือข่ายสถานีวิทยุ อสมท ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวนรวมทั้งสิ้น 62 สถานี) และมีหน่วยงานที่ให้บริการด้านข่าว (คือ สำนักข่าวไทย) ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายการหลักของบริษัท นอกจากนี้ บริษัทยังได้มีการร่วมดำเนินกิจการกับผู้ประกอบการเอกชนอื่น ๆ ภายใต้สัญญาร่วมดำเนินกิจการ ซึ่งมี 2 กิจการ หลักคือ กิจการสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อสมท และกิจการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกที่ได้ดำเนินการร่วมกับ กลุ่มยูบีซี รวมทั้งบริษัทได้มีการทำสัญญาระยะยาวกับผู้ประกอบการเอกชนในการอนุญาตให้เช่าเวลาจัดรายการและโฆษณา ทางสถานีวิทยุ F.M. 105.5 MHz ของบริษัทอีกด้วย ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) -ไม่มี ? สรุปสาระสำคัญของสัญญา มีสัญญาสำคัญ ๆ จำนวน 4 สัญญา ซึ่งสรุปได้ดังนี้ 1. สัญญาร่วมดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สีกับบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ("บีอีซี") ลงวันที่ 28 เมษายน 2521 สัญญาแก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 ลงวันที่ 13 กันยายน 2525 สัญญาแก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 2 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2530 และสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 3 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2532 มูลค่าของสัญญา : บีอีซี ตกลงจ่ายค่าตอบแทนในการเข้าร่วมดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สีให้แก่ บมจ. อสมท รวมกันเป็นเงิน ประมาณ 3,356 ล้านบาท วัตถุประสงค์ของสัญญา : บมจ. อสมท และ บีอีซี ตกลงเข้าร่วมการจัดการออกอากาศส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยใช้ สถานที่และอุปกรณ์ที่จัดสร้างขึ้น เป็นระยะเวลารวมกันทั้งสิ้น 40 ปี นับตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2523 ถึง วันที่ 25 มีนาคม 2563 สรุปสาระสำคัญของสัญญา : 1.1 ขอบเขตการร่วมงานและร่วมลงทุน บีอีซี ได้เข้าร่วมดำเนินการส่งโทรทัศน์สีกับ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ตั้งแต่ปี 2511 ซึ่งสิทธิในการดำเนินกิจการ โทรทัศน์สีได้โอนมาเป็นขององค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยในปี 2520 ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสื่อสาร มวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2520 และต่อมาในปี 2528 คณะรัฐมนตรีมีมติที่จะให้บมจ. อสมท ขยายการให้บริการในส่วน ภูมิภาค และให้ บีอีซี มีส่วนเกื้อกูลการลงทุนขยายงานร่วมกับ บมจ. อสมท ด้วย โดย บีอีซี รับเป็นผู้สร้างสถานีส่งโทรทัศน์ สำหรับถ่ายทอดสัญญาณจากสถานีส่วนกลางของบมจ. อสมท ไปยังสถานีในต่างจังหวัดรวม 22 แห่ง ต่อมาในปี 2532 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ บมจ. อสมท ขยายการบริการโทรทัศน์ในส่วนภูมิภาคเพิ่มเติมอีก 9 แห่ง และมีหน้าที่ลงทุนจัดหา ติดตั้งควบคุมตลอดจนบำรุงรักษาในอุปกรณ์ให้แล้วเสร็จ เพื่อให้ บมจ. อสมท สามารถออกอากาศได้และเพื่อเป็นการตอบ แทนการลงทุนดังกล่าว บมจ. อสมท ตกลงให้ บีอีซี มีสิทธิเข้าร่วมการจัดการออกอากาศส่วนภูมิภาค โดยใช้สถานที่และ อุปกรณ์ที่จัดสร้างขึ้น เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 40 ปี นับตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2523 ถึงวันที่ 25 มีนาคม 2563 1.2 การจัดสร้างสถานีและการจัดหาอุปกรณ์ในสถานี บีอีซี ได้ลงทุนจัดสร้างสถานีการออกอากาศส่วนกลางเพื่อใช้ในการดำเนินการออกอากาศโทรทัศน์สีของสถานี โทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 แล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2513 ซึ่งต่อมาได้โอนมาเป็นกรรมสิทธิ์ของ บมจ. อสมท และรับผิดชอบใน การจัดสร้างสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์สีสำหรับถ่ายทอดสัญญาณจากสถานีส่วนกลางของ บมจ. อสมท และจัดหาอุปกรณ์ใน สถานีทั้งหมดรวม 31 แห่งโดยมีรายละเอียดของสถานที่ และเงื่อนไขตามที่ บมจ. อสมท กำหนด 1.3 การบำรุงรักษาสถานีโดย บีอีซี บีอีซี จะต้องปรับปรุงเพิ่มเติมเครื่องมืออุปกรณ์ให้ดีทันสมัยตลอดเวลา บีอีซี ต้องดำเนินการทางช่างด้วยตนเอง และจะต้องบำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ในส่วนที่ บีอีซี ใช้ดำเนินการ รวมทั้งเสาอากาศและอุปกรณ์อื่นที่ต้องใช้ร่วมโดย บีอีซี ต้องดำเนินการซ่อมแซมเปลี่ยนชิ้นส่วนตามอายุหรือจัดหามาทดแทนให้อยู่ในสภาพที่ปฏิบัติงานได้ดีตลอดเวลา ทั้งนี้ บมจ. อสมท หรือผู้ที่รับมอบหมายมีสิทธิตรวจสอบและแจ้งให้แก้ไขด้านเทคนิคได้ตลอดเวลา (1) บีอีซี ต้องเอาประกันภัยทรัพย์สินของ บีอีซี และทรัพย์สินที่ใช้ร่วมกับ บมจ. อสมท เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงภัย ทุกชนิด (All Risk) ในวงเงินประกัน เงื่อนไขการประกันกับบริษัทประกันภัยที่ บมจ. อสมท ให้ความเห็นชอบโดยให้ บมจ. อสมท เป็นผู้รับประโยชน์ตลอดอายุสัญญา (2) สินไหมทดแทนจากทรัพย์สินที่ชำรุดเสียหายหรือสูญหายนั้น บมจ. อสมท จะมอบให้ บีอีซี เพื่อจัดทำหรือสร้าง หรือจัดหามาทดแทน ถ้าสินไหมทดแทนไม่เพียงพอแล้ว บีอีซี จะเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายเพิ่มเติม 1.4 การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน (1) สถานที่ และทรัพย์สินทั้งหมดที่ บีอีซี ใช้ในการดำเนินการจัดออกอากาศของไทยทีวีสีช่อง 3 หรือการออก อากาศส่วนกลางได้โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ บมจ. อสมท แล้ว (2) การก่อสร้างทุกอย่างที่ได้สร้างขึ้นบนที่ดินทั้ง 31 แห่ง อีกทั้งทรัพย์สินทุกอย่าง (ยกเว้นเงินทุน) ที่ บีอีซี ได้ กระทำขึ้นหรือจัดหาสำหรับใช้สอยในการดำเนินการได้โอนเป็นทรัพย์สินของ บมจ. อสมท ตั้งแต่วันที่ได้กระทำขึ้นหรือจัดหาแล้ว 1.5 สิทธิของ บีอีซี ภายหลังการโอนกรรมสิทธิ์ (1) บมจ. อสมท ขยายเวลาการออกอากาศส่วนกลางของ บีอีซี ไปสิ้นสุดในวันที่ 25 มีนาคม 2563 (2) บมจ. อสมท ให้ บีอีซี เข้าร่วมดำเนินการจัดการออกอากาศส่วนภูมิภาค โดยใช้สถานที่และอุปกรณ์ที่จัดสร้างขึ้น โดย บีอีซี จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและมีกำหนดเวลาสิ้นสุดพร้อมการออกอากาศส่วนกลาง (3) ทรัพย์สินที่ได้สร้างขึ้นและได้โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ บมจ. อสมท แล้วนั้น ถ้ามีผู้รบกวนสิทธิดังกล่าว บีอีซี จะเป็นผู้รับผิดชอบคุ้มครองขัดขวาง หรือต่อสู้แทน บมจ. อสมท โดย บีอีซี จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย 1.6 การเก็บเงินและส่วนแบ่งที่เกี่ยวข้อง บีอีซี จะต้องจ่ายผลตอบแทนให้กับ บมจ. อสมท เป็นรายปีโดยจะจ่ายเงินให้กับ บมจ. อสมท เป็นรายปีตามจำนวนเงิน ที่ระบุไว้แน่นอนในสัญญา สำหรับค่าใช้จ่ายในด้านสาธารณูปโภคในส่วนที่ไม่สามารถแยกออกเป็นสัดส่วนได้ เช่น ถนน เป็นต้น ทั้ง บีอีซี และ บมจ. อสมท เป็นผู้รับผิดชอบฝ่ายละครึ่งหนึ่ง 1.7 การสิ้นสุดของสัญญา ในกรณีที่ บีอีซี ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญา บมจ. อสมท จะแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ บีอีซี ปฏิบัติตามข้อ สัญญาให้ถูกต้องโดยให้เวลาอันสมควร หาก บีอีซี ไม่ยอมปฏิบัติให้ถูกต้องภายในเวลาดังกล่าว บีอีซี ต้องแจ้งเหตุผลเป็นลาย ลักษณ์อักษรให้ บมจ. อสมท ทราบ เมื่อ บมจ. อสมท ได้พิจารณาคำชี้แจงนั้นแล้ว จะแจ้งให้ บีอีซี ทราบและปฏิบัติให้ถูกต้อง ภายในเวลาอันสมควรอีกครั้งหนึ่ง หาก บีอีซี ไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องภายในกำหนดเวลาครั้งหลังนี้แล้ว บมจ. อสมท มีสิทธิเรียก ค่าเสียหายอันพึงมี และ/หรือแจ้งให้งดการออกอากาศ และ/หรือมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที 1.8. การระงับข้อพิพาท หากมีข้อพิพาทอันเกี่ยวเนื่องกับสัญญาเกิดขึ้น คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงให้อนุญาโตตุลาการ เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดข้อ พิพาทดังกล่าว ทั้งนี้ คำตัดสินของอนุญาโตตุลาการให้เป็นที่สุดและผูกพันคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย 2. สัญญาร่วมดำเนินกิจการให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกกับบริษัท ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ("ยูบีซี") ลงวันที่ 17 เมษายน 2532 สัญญาแก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2537 และสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 2 ลงวันที่ 17 เมษายน 2541 มูลค่าของสัญญา : ยูบีซีตกลงชำระค่าตอบแทนในการเข้าร่วมดำเนินกิจการการอนุญาตขยายบริการโทรทัศน์ระบบบอกรับ เป็นสมาชิกแก่ บมจ. อสมท ตลอดอายุสัญญา รวมเป็นเงินไม่น้อยกว่า 420.44 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) สรุปสาระสำคัญของสัญญา : 2.1 ขอบเขตการร่วมงานและร่วมลงทุน บมจ. อสมท ตกลงให้ ยูบีซี เข้าร่วมดำเนินการกิจการให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก โดย ยูบีซี จะต้องออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเองทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท เพื่อจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็น ในการให้บริการในนามของ บมจ. อสมท และส่งมอบให้เป็นกรรมสิทธิ์ของ บมจ. อสมท บมจ. อสมท จะดำเนินการ ขออนุมัติความถี่สื่อสารจากคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ ("กบถ.") อีก 2 ความถี่ รวมเป็น 5 ความถี่ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจการตามสัญญา 2.2 ระยะเวลาในการร่วมงานมีกำหนด 25 ปี นับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2532 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2557 ทั้งนี้ ยูบีซี จะให้บุคคลอื่นรับไปดำเนินการแทนมิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก บมจ. อสมท ก่อน 2.3 การจ่ายค่าตอบแทน ยูบีซี ตกลงจ่ายค่าตอบแทนในการเข้าร่วมดำเนินกิจการให้แก่ บมจ. อสมท เป็นเงินร้อยละ 6.5 ของรายได้ ทั้งหมดแต่ละปี ก่อนหักค่าใช้จ่ายใดๆ แต่ต้องไม่น้อยกว่าค่าตอบแทนขั้นต่ำในแต่ละปีซึ่งรวมกันตลอดอายุสัญญา ไม่น้อยกว่า 420,440,000 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) นอกจากนี้ ยูบีซีตกลงจ่ายค่าตอบแทนการอนุญาตขยายบริการ ตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1 เป็นเงินทั้งสิ้น 20 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) 2.4 ค่าปรับ ในกรณีที่ ยูบีซี ชำระค่าตอบแทนล่าช้า ยูบีซี จะต้องชำระดอกเบี้ยให้แก่ บมจ. อสมท ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี และหากมีความล่าช้าเกินกว่า 60 วัน บมจ. อสมท มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ 2.5 การเอาประกันภัยทรัพย์สิน ยูบีซี ต้องเอาประกันภัยทรัพย์สิน ซึ่ง ยูบีซี ใช้ในการดำเนินการตามสัญญานี้ เพื่อคุ้มครองการเสี่ยงภัยทุกชนิดตาม ที่ บมจ. อสมท ให้ความเห็นชอบ โดยให้ บมจ. อสมท เป็นผู้รับประโยชน์ตลอดอายุสัญญา 2.6 หนังสือสัญญาค้ำประกัน ยูบีซี ต้องนำหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารเป็นจำนวนเงิน 5,000,000 บาท มามอบไว้แก่บมจ. อสมท ในวันทำสัญญา เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาการส่งมอบเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของ บมจ. อสมท 2.7 การใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา บมจ. อสมท อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้ในกรณีที่ ยูบีซี ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาและบมจ. อสมท ได้มีหนังสือแจ้งให้ ยูบีซี ปฏิบัติตามสัญญาให้ถูกต้องภายในกำหนดเวลาอันสมควรแล้ว ยูบีซี มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องภายใน เวลาที่กำหนด บมจ. อสมท มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย และ/หรือแจ้งให้งดการให้บริการ และ/หรือมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที 2.8 ผลของการสิ้นสุดสัญญา เมื่อสัญญาสิ้นสุดลงไม่ว่ากรณีใด ๆ ยูบีซี จะต้องส่งมอบทรัพย์สินรวมทั้งอุปกรณ์เครื่องรับทั้งหมดคืนให้แก่ บมจ. อสมท ในสภาพเรียบร้อยปราศจากการชำรุดบกพร่องและสามารถดำเนินการต่อไปได้ตามปกติ ภายใน 60 วัน หาก ยูบีซี ไม่ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ยูบีซี ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ บมจ. อสมท วันละ 20,000 บาท หรือเป็นเงินร้อยละ 0.2 ของมูลค่าทรัพย์สินในส่วนนี้ที่ยังไม่ส่งมอบ แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่าไปจนกว่าดำเนินการเสร็จ 2.9 การระงับข้อพิพาท กรณีมีข้อพิพาทอันเกี่ยวเนื่องกับสัญญา คู่สัญญาตกลงแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการทำการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทดังกล่าว ให้คำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการเป็นที่สุด และผูกพันคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย2.10 ความเห็นชอบในการแก้ไขปัญหาการ ขาดทุนของยูบีซี บมจ. อสมท ให้ความเห็นชอบในการแก้ไขปัญหาการขาดทุนของ ยูบีซี และบริษัท ยูบีซี เคเบิ้ล เน็ตเวอร์ค จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ร่วมดำเนินกิจการให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกอีกรายหนึ่งของ บมจ. อสมท โดย ให้บริษัททั้งสองมีการบริหาร การใช้ทรัพยากร การลงทุน และการให้บริการแก่สมาชิกร่วมกัน 3. สัญญาร่วมดำเนินกิจการให้บริการโทรทัศน์ทางสายระบบบอกรับเป็นสมาชิกกับบริษัท ยูบีซี เคเบิ้ล เน็ตเวอร์ค จำกัด (มหาชน) ("ยูบีซี เคเบิ้ล") ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2537 สัญญาแก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 ลงวันที่ 7 กันยายน 2537 สัญญาฉบับแก้ไข เพิ่มเติม ครั้งที่ 2 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2537 และสัญญาฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 3 ลงวันที่ 17 เมษายน 2541 มูลค่าของสัญญา : ยูบีซี เคเบิ้ล ตกลงจ่ายค่าตอบแทนในการเข้าร่วมดำเนินกิจการตามสัญญาร่วมดำเนินกิจการให้บริการ โทรทัศน์ทางสายระบบบอกรับเป็นสมาชิกให้แก่ บมจ. อสมท ตลอดอายุสัญญา รวมเป็นเงินไม่น้อยกว่า 575 ล้านบาท โดย อัตราดังกล่าวยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม สรุปสาระสำคัญของสัญญา : 3.1 ขอบเขตการร่วมงานและร่วมลงทุน บมจ. อสมท ตกลงให้ ยูบีซี เคเบิ้ล เข้าร่วมดำเนินการกิจการให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกโดย ยูบีซี เคเบิ้ล จะต้องออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเองทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท เพื่อจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นในการให้บริการในนามของ บมจ. อสมท และส่งมอบให้เป็นกรรมสิทธิ์ของ บมจ. อสมท โดยอุปกรณ์ที่กำหนด ให้ต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ บมจ. อสมท ก่อนดำเนินการให้บริการตามสัญญา จะต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท 3.2 ระยะเวลาในการร่วมงาน มีกำหนด 25 ปี นับแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 ทั้งนี้ ยูบีซี เคเบิ้ล จะให้บุคคลอื่นรับ ไปดำเนินการแทนมิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก บมจ. อสมท ก่อน 3.3 การจ่ายค่าตอบแทน ยูบีซี เคเบิ้ล ตกลงจ่ายค่าตอบแทนในการเข้าร่วมดำเนินกิจการให้แก่ บมจ. อสมท เป็นเงินร้อยละ 6.5 ของ รายได้ทั้งหมดแต่ละปี ก่อนหักค่าใช้จ่ายใดๆ แต่ต้องไม่น้อยกว่าค่าตอบแทนขั้นต่ำในแต่ละปีซึ่งรวมกันตลอดอายุสัญญา ไม่น้อยกว่า 575 ล้านบาท 3.4 ค่าปรับ ในกรณีที่ ยูบีซี เคเบิ้ล ชำระค่าตอบแทนล่าช้า ยูบีซี เคเบิ้ล จะต้องชำระดอกเบี้ยให้แก่ บมจ. อสมท. ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี และหากมีความล่าช้าเกินกว่า 60 วัน บมจ. อสมท มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ 3.5 การเอาประกันภัยทรัพย์สิน ยูบีซี เคเบิ้ล จะต้องดำเนินการให้มีการเอาประกันภัยทรัพย์สิน ซึ่ง ยูบีซี เคเบิ้ล ได้โอนหรือจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ ให้แก่ บมจ. อสมท ตามสัญญา เพื่อคุ้มครองการเสี่ยงภัยทุกชนิด (All Risk) ในวงเงินประกัน เงื่อนไขการประกัน กับบริษัท ประกันภัยที่ บมจ. อสมท ให้ความเห็นชอบ โดยให้ บมจ. อสมท เป็นผู้รับประโยชน์โดย ยูบีซี เคเบิ้ล เป็นผู้ออกเบี้ยประกัน 3.6 หนังสือสัญญาค้ำประกัน ในวันทำสัญญา ยูบีซี เคเบิ้ล ได้นำหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคารตามแบบที่ บมจ. อสมท กำหนด เป็นจำนวนเงิน 10 ล้านบาท มามอบไว้แก่ บมจ. อสมท เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา ยูบีซี เคเบิ้ล ยินยอมให้ บมจ. อสมท บอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันได้ทันที 3.7 การใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา บมจ. อสมท อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้ในกรณีที่ ยูบีซี เคเบิ้ล ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาข้อหนึ่ง ข้อใดและบมจ. อสมท ได้มีหนังสือแจ้งให้ ยูบีซี เคเบิ้ล ปฏิบัติตามสัญญาให้ถูกต้องภายในกำหนดเวลาอันสมควรแล้ว ยูบีซี เคเบิ้ล มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด บมจ. อสมท มีสิทธิเรียกค่าเสียหายและหรือแจ้งให้งดการให้ บริการ และหรือมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที 3.8 ผลของการสิ้นสุดสัญญา เมื่อสัญญาสิ้นสุดลง ยูบีซี เคเบิ้ล จะต้องส่งมอบทรัพย์สินรวมทั้งอุปกรณ์เครื่องรับทั้งหมดคืนให้แก่ บมจ. อสมท ในสภาพเรียบร้อยปราศจากการชำรุดบกพร่องและสามารถดำเนินการต่อไปได้ตามปกติ ภายใน 60 วัน หาก ยูบีซี เคเบิ้ล ไม่ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ยูบีซี เคเบิ้ล ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ บมจ. อสมท วันละ 20,000 บาท หรือเป็นเงินร้อยละ 0.2 ของมูลค่าทรัพย์สินในส่วนนี้ที่ยังไม่ส่งมอบ แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่าไปจนกว่าดำเนินการเสร็จ 3.9 การระงับข้อพิพาท กรณีมีข้อพิพาทอันเกี่ยวเนื่องกับสัญญา คู่สัญญาตกลงแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการทำการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทดังกล่าว ให้คำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการเป็นที่สุด และผูกพันคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย 3.10 ความเห็นชอบในการแก้ไขปัญหาการขาด ทุนของยูบีซี เคเบิ้ล ยูบีซี เคเบิ้ลและยูบีซี ซึ่งเป็นผู้ร่วมดำเนินกิจการให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก อีกรายหนึ่งของ บมจ. อสมท ต่างประสบกับปัญหาการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง บมจ. อสมท ได้ให้ความเห็นชอบในการแก้ ปัญหาการขาดทุนดังกล่าว โดยให้บริษัททั้งสองมีการบริหาร การใช้ทรัพยากร การลงทุน และการให้บริการแก่สมาชิกร่วมกันได้ 4. สัญญาเช่าเวลาจัดรายการและโฆษณากับบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ("บีอีซี") สรุปสาระสำคัญของสัญญา : 4.1 คู่สัญญาตกลงให้ บีอีซี เช่าเวลาจัดรายการ และโฆษณาทางสถานีวิทยุ ของ บมจ. อสมท คลื่น F.M. จังหวัดกรุงเทพมหานคร ความถี่ 105.5 MHz โดยให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการและระเบียบของสถานี 4.2 บีอีซี ต้องปรับปรุงประสิทธิภาพทางด้านเทคนิคของสถานีวิทยุของ บมจ. อสมท ให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับแต่วันลงนามในสัญญา (คือ วันที่ 22 กันยายน 2537) เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ บีอีซี จะต้องแจ้งส่งมอบเพื่อให้ เครื่องอุปกรณ์ที่ บีอีซี จัดหาเพิ่มเติมหรือจัดหามาทดแทนตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ บมจ. อสมท 4.3 การจัดรายการและโฆษณาตามสัญญา บีอีซี จะดำเนินการดังที่ระบุไว้ข้างล่างนี้ด้วยตัวเอง จะจำหน่ายจ่ายโอน สิทธิตามสัญญาให้แก่บุคคลอื่นไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ มิได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจาก บมจ. อสมท - เวลาที่ออกอากาศของสถานี ทุกวันตามเวลาที่ทางราชการกำหนด - เวลาที่ให้เช่า ทุกวัน ๆ ละ 18 ชั่วโมง - การจัดรายการจะต้องกระทำในนามบมจ. อสมท และต้องเป็นไปตามประเภทรายการตามผังรายการที่ ได้รับอนุมัติจากบมจ. อสมท หรือนายสถานี - ผู้จัดรายการจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบของทางราชการและระเบียบของสถานีโดยต้องมี เนื้อหาคุณภาพของรายการและคุณภาพทางเทคนิคได้มาตรฐานซึ่ง บมจ. อสมท หรือนายสถานีให้ความเห็นชอบ - การโฆษณาจะต้องเป็นไปตามระเบียบของทางราชการและระเบียบของสถานี - หากมีข้อขัดข้องในการออกอากาศไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม บีอีซี จะไม่ได้รับการลดหย่อนค่าใช้จ่าย ค่าตอบแทน หรือค่าเช่าเวลาตามสัญญา เว้นแต่บมจ. อสมท จะพิจารณาเห็นเป็นการสมควรลดหย่อนให้ 4.4 บีอีซี จะต้องจัดหาเจ้าหน้าที่และบุคคลอื่นซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนดมาปฏิบัติงาน และออกค่าใช้จ่ายเองทั้งสิ้น 4.5 บีอีซี ตกลงจ่ายค่าเช่าเวลาและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้แก่ บมจ. อสมท ดังนี้ (1) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่าง ๆ (2) ค่าเช่าเวลารายเดือน (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ภายในสิ้นเดือนที่ออกอากาศ โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2539 มีอัตราค่าเช่า 300,000 บาทต่อเดือน และปรับค่าเช่าทุกปีในอัตราปีละ 10% 4.6 บีอีซี ต้องวางหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคารตามแบบที่ บมจ. อสมท กำหนดเป็นจำนวนเงิน 3 เท่าของค่าเช่าเวลารายเดือนภายใน 15 วันนับแต่วันที่ บมจ. อสมท แจ้งให้ บีอีซี ทราบเป็นหนังสือ 4.7 บีอีซี ต้องปฏิบัติดังนี้ (1) รับผิดชอบในการปฏิบัติบำรุง ซ่อมบำรุง ซ่อมแซมแก้ไข เปลี่ยน หรือจัดหามาทดแทนซึ่งเครื่องมือ เครื่อง อุปกรณ์ เครื่องใช้ และทรัพย์สินของ บมจ. อสมท เพื่อให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยสมบูรณ์ตลอดอายุของสัญญา โดยบมจ. อสมท ให้ความเห็นชอบ (2) ต้องประกันทรัพย์สินของ บมจ. อสมท ตามเงื่อนไข และบริษัทประกันภัยที่ บมจ. อสมท ให้ความเห็นชอบ โดยให้ บมจ. อสมท เป็นผู้รับประโยชน์ในวงเงินไม่ต่ำกว่า 3,000,000 บาท ตลอดอายุสัญญา 4.8 ถ้ามีผู้รบกวนสิทธิในบรรดาทรัพย์สินที่ตกเป็นของ บมจ. อสมท อันถือเป็นการรอนสิทธิต่อ บมจ. อสมท หรือยึดถือ หรือเอาคืนไป หรือเรียกร้องเอาไม่ว่าด้วยประการใด ๆ ผู้เช่าจะต้องรับผิดชอบ คุ้มครองขัดขวาง หรือต่อสู้แทน บมจ. อสมท ทั้งสิ้น พร้อมทั้งออกค่าใช้จ่ายในการนี้ รวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ค่าทนายความ (ถ้ามี) และค่าเสียหายทั้งหมด เองด้วย 4.9 การสิ้นสุดของสัญญาก่อนกำหนด - หากสัญญาร่วมดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สีระหว่าง บมจ. อสมท กับ บีอีซี สิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยเหตุใดก่อนครบ กำหนดอายุสัญญา ให้ถือว่าสัญญาเป็นอันสิ้นสุดลงด้วย - หากผู้เช่าผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด บมจ. อสมท มีสิทธิที่จะบอกกล่าวตักเตือนหรือบอกเลิกสัญญาได้ตามที่เห็น สมควร พร้อมทั้งมีสิทธิที่จะริบหลักประกันทั้งหมดหรือบางส่วนแล้วแต่ บมจ. อสมท จะเห็นสมควรและเรียกค่าเสียหายจาก ผู้เช่าได้อีกตามกฎหมาย - ในระหว่างอายุสัญญา หาก บีอีซี มีนิติกรรมอื่นใดกับบมจ. อสมท ซึ่งมีผลบังคับใช้ต่อกันอยู่ และปรากฏว่า บีอีซี ได้กระทำผิดสัญญาอื่น ให้ถือว่า บีอีซี ผิดสัญญา และ บมจ. อสมท มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ด้วย การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (ถ้ามี) -ไม่มี ? การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการจัดการ -ไม่มี - โครงการดำเนินงานในอนาคต (ถ้ามี) 1. โครงการปรับปรุงอาคารและสภาพแวดล้อมภายในบริษัท บริษัทมีแผนที่จะปรับปรุงอาคารเก่าที่มีอยู่เดิมทั้งภายในและภายนอกอาคารซึ่งมีอายุกว่า 22 ปีให้มีความทันสมัย โดยจะใช้เวลาดำเนินงานประมาณ 2 ปี (ปี 2547-2548) ซึ่งบริษัทได้รับอนุมัติเงินงบประมาณเป็นจำนวนประมาณ 607 ล้านบาทในปี 2546 เพื่อนำมาใช้ดำเนินการพัฒนา โดยเป็นการใช้จากเงินสะสมและแหล่งเงินทุนหมุนเวียนภายในของ บริษัท นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนที่จะจัดตั้งศูนย์กลางข่าวประจำภูมิภาคเอเชีย (Regional Hub of Communication) ใน บริเวณสำนักงานใหญ่ของบริษัทด้วย โดยบริษัทประสงค์ที่จะให้เป็นศูนย์รวมที่ตั้งสำนักงานของสำนักข่าวต่างประเทศ ชั้นนำต่าง ๆ ซึ่งคาดว่า โครงการนี้จะใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนประมาณ 600 ล้านบาท โดยจะได้มีการทยอยลงทุนในช่วง ระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า 2. โครงการ MCOT Television หรือ MCOT TV บริษัทมีความประสงค์ที่จะพัฒนาเครือข่ายโทรทัศน์ระดับประเทศไปสู่เครือข่ายโทรทัศน์ระดับนานาชาติ บริษัทจึง มีแผนที่จะลงทุนในโครงการ MCOT Television ซึ่งโครงการนี้จะเป็นการผลิตและนำเสนอรายการโทรทัศน์เป็นภาค ภาษาอังกฤษภายใต้แนวคิด "หน้าต่างของโลกตะวันออก (Window to the Oriental World)" ซึ่งมีกลุ่มผู้ชมทั่วโลก โดย มีกลุ่มประเทศเป้าหมายหลักจำนวนประมาณ 20 ประเทศ โดยในเบื้องต้น บริษัทได้ประมาณงบลงทุนของโครงการ MCOT TV ไว้ประมาณ 2,200 ล้านบาทโดยจะทยอยใช้เงินลงทุนดังกล่าวในช่วง 2 ? 4 ปีข้างหน้า หากผลการศึกษาราย ละเอียดของโครงการลงทุนดังกล่าวมีผลทำให้บริษัทตัดสินใจที่จะดำเนินโครงการนี้บริษัทคาดว่า โครงการ MCOT TV นี้จะมีรายได้หลักจากการขายเวลาโฆษณา และการได้รับการสนับสนุนรายการจากผู้โฆษณา (Sponsorship) ซึ่งอาจเป็น บริษัทเอกชนหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่ซื้อเวลาโฆษณา 3. โครงการส่งสัญญาณออกอากาศในระบบดิจิตอล (Digital Broadcasting System) เนื่องจากบริษัทคาดว่า ในอนาคต ประเทศไทยอาจจะมีการส่งสัญญาณออกอากาศในระบบดิจิตอล ดังนั้นบริษัท จึงกำหนดแผนงานเพื่อรองรับการผลิตของสถานีที่จะเพิ่มขึ้นตามแผนการออกอากาศโดยใช้เทคโนโลยีดิจิตอล ซึ่งบริษัท (ยังมีต่อ)