15 สิงหาคม 2548

คำอธิบายและวิเคราะห์งบการเงินไตรมาส2-2548(MD&A)

คำอธิบายและวิเคราะห์งบการเงินสำหรับผลการดำเนินงานสำหรับงวดวันที่ 1 เมษายน- 30 มิถุนายน 2548 เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานสำหรับงวดวันที่ 1 เมษายน- 30 มิถุนายน 2547 และสำหรับผลการดำเนินงาน สำหรับงวดวันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2548 เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานสำหรับ งวดวันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2547 ผลการดำเนินงานของบมจ. อสมท และบริษัทย่อย หน่วย : ล้านบาท (สอบทานแล้ว) เ ม.ย.- มิ.ย. 48 เ ม.ย.- มิ.ย. 47 1) เปลี่ยนแปลงร้อยละ รายได้โทรทัศน์ 561 435 29 รายได้วิทยุ 146 111 32 รวมรายได้ทั้งหมด 893 701 27 รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด 491 417 18 กำไรก่อนหักภาษี 402 284 42 กำไรสุทธิ 294 213 2) 38 กำไรสุทธิต่อหุ้น(บาท) 0.43 0.31 2) 38 หน่วย : ล้านบาท (สอบทานแล้ว) ม.ค. - มิ.ย. 48 ม.ค. - มิ.ย. 47 1) เปลี่ยนแปลงร้อยละ รายได้โทรทัศน์ 1,088 841 29 รายได้วิทยุ 251 215 17 รวมรายได้ทั้งหมด 1,706 1,360 25 รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด 968 775 25 กำไรก่อนหักภาษี 738 585 26 กำไรสุทธิ 546 439 2) 24 กำไรสุทธิต่อหุ้น(บาท) 0.79 0.64 2) 24 หมายเหตุ 1) บริษัทได้มีการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2547 สำหรับงบการเงินงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2547 และงวดสามเดือนสิ้นสุด วันที่ 30 มิถุนายน 2547 เป็นงบการเงินสอบทานแล้ว ขององค์การสื่อสารมวลชนแห่ง ประเทศไทย ซึ่งได้มีการเปิดเผยไว้ในหนังสือชี้ชวนเสนอขายหุ้นสามัญ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (หนังสือชี้ชวนมีผลบังคับใช้วันที่ 21 ตุลาคม 2547) 2) กำไรสุทธิสำหรับผลการดำเนินงานสำหรับงวดสามเดือน เม.ย. - มิ.ย. 47 คือ 284 ล้านบาท (ไม่มีการจ่ายภาษี เพราะเป็นงบการเงินสอบทานแล้ว ขององค์การ สื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย) แต่เพื่อการเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงาน สำหรับงวด เม.ย. - มิ.ย. 48 (งบการเงินสอบทานแล้ว ของบริษัท อสมท จำกัด มหาชน) ที่มีการจ่ายภาษีร้อยละ 25 จึงหักกำไรสุทธิสำหรับงวด เม.ย. - มิ.ย. 47 ร้อยละ 25 เช่นกัน และระบุกำไรสุทธิจำนวน 213 ล้านบาท และเช่นเดียวกัน สำหรับกำไรสุทธิสำหรับผลการดำเนินงานสำหรับงวดหกเดือน ม.ค. - มิ.ย. 47 คือ 585 ล้านบาท (ที่ไม่มีการจ่ายภาษีเช่นกันฯ) แต่เพื่อวัตถุประสงค์ในการ เปรียบเทียบจึงหักกำไรสุทธิสำหรับงวด เม.ย. - มิ.ย. 47 ร้อยละ 25 เช่นกัน และระบุกำไรสุทธิจำนวน 439 ล้านบาท รายได้จากการดำเนินงานโทรทัศน์สำหรับงวดสามเดือน เม.ย. - มิ.ย. 48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (เม.ย. - มิ.ย. 47) ปรับขึ้นร้อยละ 29 และสำหรับงวดหกเดือน ม.ค. - มิ.ย. 48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ม.ค. - มิ.ย. 47)ปรับขึ้นร้อยละ 29 เช่นกัน ถึงแม้ว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจะชะลอ ตัวลง เนื่องจากระดับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น และมีผลทำให้การจับจ่ายใช้สอยของ ผู้บริโภคลดต่ำลง และอาจมีผลกระทบต่อแนวโน้มการใช้งบโฆษณา แต่การที่บริษัท มีอัตราค่าโฆษณาที่ต่ำกว่าคู่แข่งขัน และบริษัทได้ปรับเพิ่มสัดส่วนรายการที่ผลิตเอง ทำให้บริษัทสามารถเพิ่มพื้นที่การขายโฆษณาได้มากขึ้น โดยสัดส่วนของรายการ ที่ผลิตเองเพิ่มเป็นร้อยละ 41 จากเดิมร้อยละ 34ในปี 2546 และ ร้อยละ 40 ในปี 2547 ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะรายได้ค่าโฆษณาที่มีสัดส่วนถึง ร้อยละ 64 ของรายได้โทรทัศน์ และรายได้จากโครงการต่างๆที่มีสัดส่วนร้อยละ 20 ของรายได้โทรทัศน์ มาจากทั้งภาครัฐ และเอกชน ได้แก่ โครงการป้องกันอุบัติภัย โครงการประหยัดพลังงาน โครงการประหยัดค่าโทรศัพท์ โครงการOTOP โครงการ Bangkok Music Festivalสินค้าประเภท เครื่องดื่ม และสินค้า Consumer Product เป็นต้น รายได้จากการดำเนินงานวิทยุสำหรับงวดสามเดือน เม.ย. - มิ.ย. 48 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (เม.ย. - มิ.ย. 47) ปรับขึ้นร้อยละ 32 และสำหรับงวด หกเดือน ม.ค. - มิ.ย. 48เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ม.ค.- มิ.ย.47) ปรับขึ้นร้อยละ 17 อันเป็นผลมาจากการเข้ามาบริหาร 6 คลื่นในกรุงเทพ (จากเดิมที่ ให้เช่า) คือ FM 95 ลูกทุ่งมหานคร FM 96.5 คลื่นความคิด คลื่น SEED FM 97.5 FM 99 คลื่นเมืองไทยแข็งแรง FM 100.5 คลื่นสถานีข่าว และคลื่น Metropolis 107 FM โดยเริ่มดำเนินการเต็มรูปแบบตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2548 จากผลสำรวจ ความนิยมของผู้ฟังตั้งแต่เดือนมีนาคม 2548 ที่ผ่านมา ผู้ฟังอายุตั้งแต่ 12-44 ปี จาก จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 6 ล้านคน โดยการจัดอันดับความนิยมจาก Tapscan Ratings สถานีที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ (อันดับที่ 1-3) คือ คลื่น SEED FM 97.5 และ FM 95 ลูกทุ่งมหานคร รายได้รวมสำหรับงวดสามเดือนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาปรับขึ้น ร้อยละ 27 และงวดหกเดือนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาปรับขึ้น ร้อยละ 25 อันเป็นผลมาจากการปรับขึ้นของทั้งรายได้จากการดำเนินงานโทรทัศน์ และวิทยุ นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากการปรับขึ้นของรายได้จากการร่วมดำเนิน กิจการ เนื่องจากตามที่ระบุไว้ในสัญญาสัมปทานระหว่างบริษัทและบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด โดยบริษัทบางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด จะต้องจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้บริษัทในปี 2548 จำนวนรวม 110.26 ล้านบาท เพิ่มจากจำนวน 65.39 ล้านบาทในปี 2547 ค่าใช้จ่ายรวมสำหรับงวดสามเดือนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาปรับขึ้น ร้อยละ 18 และงวดหกเดือนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาปรับขึ้นร้อยละ 25 เป็นการปรับขึ้นตามตามสัดส่วนการผลิตรายการโทรทัศน์ที่เพิ่มขึ้น และเป็นค่าใช้จ่าย ในการบริหารและจัดการคลื่นวิทยุ 6 คลื่นที่รับคืนมา และเนื่องจากการบริหารรายได้และค่าใช้จ่ายดังกล่าวข้างต้น กำไรสุทธิและกำไรสุทธิต่อหุ้น สำหรับงวดสามเดือนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาปรับขึ้นร้อยละ 38 และงวดหกเดือนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาปรับขึ้นร้อยละ 24