29 กุมภาพันธ์ 2555
คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการสำหรับงบการเงิน ของปี 2554
คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ
คณะกรรมการบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ในการประชุมครั้งที่ 4/2555 เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์
2555 ได้มีมติอนุมัติงบการเงิน ประจำปี 2554 ของบริษัท (1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2554)
ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินและคณะกรรมการตรวจสอบแล้วโดยมีคำอธิบายและการวิเคราะห์ข
องฝ่ายจัดการ ดังนี้
คำอธิบายและวิเคราะห์งบการเงิน ประจำปี 2554 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553
ผลประกอบการของปี 2554 บริษัทมีกำไรสุทธิสำหรับงวด จำนวน 1,376 ล้านบาท ลดลงจากปี 2553 ร้อยละ 5
แยกเป็นกำไรส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ 1,356 ล้านบาท และกำไรส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
20 ล้านบาท จากการปรับมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (IFRS) บมจ. อสมท จึงปรับงบการเงินปี 2553
เพื่อเปรียบเทียบ เป็นผลให้ผลการดำเนินการในปี 2553 เปลี่ยนไปจากที่ได้รายงานไว้แล้ว โดยรายได้รวมในปี
2553 เป็น 5,356 ล้านบาท และสินทรัพย์รวม ณ วันสิ้นปี 2553 เพิ่มขึ้นจากที่ได้รายงานไว้ 128 ล้านบาท
ผลการดำเนินงานของ บมจ. อสมท และ บริษัทย่อย
หน่วย ล้านบาท
(ตรวจสอบแล้ว)
2554 2553 ร้อยละ
รายได้รวม 5,313 5,356 -1
โทรทัศน์ 3,396 3,530 -4
วิทยุ 855 899 -5
ร่วมดำเนินกิจการ
ผลประโยชน์พิเศษนอกเหนือสัญญา
อื่น ๆ 871
21
170 834
-
93 4
83
ค่าใช้จ่ายรวม 3,256 3,298 -1
กำไรสุทธิสำหรับงวด 1,376 1,446 -5
กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 20 23 -13
กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ 1,356 1,423 -5
กำไรสุทธิต่อหุ้น (บาท) 1.97 2.07 -5
หมายเหตุ บริษัทฯ ได้จัดทำงบการเงินตามมาตรฐานรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ (International Financial
Reporting Standard)
รายได้รวมของปี 2554 ลดลงร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับ ปี 2553 เนื่องจากรายได้โทรทัศน์และวิทยุ
เติบโตน้อยกว่าปี 2553 ที่ผ่านมา โดยมีรายละเอียด ดังนี้
รายได้โทรทัศน์ ปี 2554 ลดลงร้อยละ 4 จากปี 2553 เนื่องจากผลการดำเนินงานในไตรมาสสุดท้ายของปี 2554
ได้รับผลกระทบอย่างมากจากสถานการณ์มหาอุทกภัย ซึ่งงบโฆษณารวมของอุตสาหกรรมเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
2553 ลดลงถึง 4.05 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15 ในขณะที่งบโฆษณาในอุตสาหกรรมโทรทัศน์ลดลงร้อยละ 18
แสดงให้เห็นว่า ธุรกิจโทรทัศน์ได้รับผลกระทบจากมหาอุทกภัย โดยเฉพาะสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์
ซึ่งมีส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับที่ 3 ของตลาด
จะถูกลดงบโฆษณาก่อนสถานีโทรทัศน์ซึ่งเป็นผู้นำตลาดอย่างช่อง 3 และ ช่อง 7
ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าวลูกค้าส่วนใหญ่งดการจัดกิจกรรมทำให้รายได้จากกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ
ในไตรมาส 4 ลดลงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่หากพิจารณาในช่วง 9 เดือนแรก
จะพบว่าธุรกิจโทรทัศน์ของบริษัทมีผลการดำเนินงานที่เติบโตถึงร้อยละ 13
จากการปรับกลยุทธ์ด้านราคาและการจัดแพ็คเกจการขายให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าและตลาดอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะด้านกิจกรรมและโครงการ และการขยายฐานไปยังลูกค้าใหม่ ๆ ตลอดจนการบริหารอัตราการใช้เวลาโฆษณา
(Utilization Rate) อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการปรับยุทธศาสตร์การตลาดให้หารายได้จากแหล่งอื่น ๆ อาทิ
กิจกรรมหน้าจอจากรายการโดยขยายแนวทางการตลาดส่งเสริมรายการที่มีอยู่ และกิจกรรมพิเศษเพิ่มมากขึ้น เช่น
9 Entertain Trip และ คอนเสิร์ต ตลอดจนรายการประเภท reality show เช่น "the star 7" "The Trainer"
และ "KPN Award" เป็นต้น
ขณะเดียวกันบริษัทยังมีรายได้เพิ่มจากการปรับราคาและปรับผังรายการโดยเพิ่มสัดส่วนรายการบันเทิงเชิงสาระท
มีรูปแบบแตกต่างจากสถานีโทรทัศน์อื่น ๆ มากขึ้น ส่งผลให้แนวโน้มอัตราการใช้เวลาโฆษณา (Utilization
Rate) เฉลี่ยในช่วง Prime Time และ Non - Prime Time เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ในปี 2554
บริษัทได้เริ่มรับรู้รายได้ส่วนหนึ่งจากธุรกิจสื่อใหม่ เช่น
การบริหารสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมให้กรุงเทพมหานคร (Bangkok City Channel)
และการทำสัญญารายปีเพื่อแพร่ภาพออกอากาศรายการโทรทัศน์ผ่านช่องสัญญาณดาวเทียม ระบบ C-band และ KU -
band การออก
-2-
อากาศช่อง MCOT 1 และ ASEAN TV ทั้งนี้
บริษัทคาดการณ์ว่ารายได้ธุรกิจโทรทัศน์จะเริ่มกลับเป็นปกติตั้งแต่ปลาย ไตรมาส 1 ปี 2555
รายได้วิทยุฯ ปี 2554 ลดลงร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับปี 2553
เนื่องจากมีคู่แข่งเพิ่มขึ้นจากการเกิดขึ้นของสื่อใหม่ เช่น โทรทัศน์ดาวเทียม และสื่ออินเตอร์เน็ต
ซึ่งทำให้ลูกค้าหันไปใช้งบโฆษณาในสื่อเหล่านั้นเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาค่าโฆษณาใกล้เคียงกัน
ประกอบกับผลกระทบจากสถานการณ์มหาอุทกภัย ทำให้รายได้จากค่าโฆษณาและกิจกรรมลดลง เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตามสถานีวิทยุส่วนกลางได้ดำเนินการปรับปรุงคุณภาพรายการ ตลอดจนการจัดกิจกรรมต่าง ๆ
เพื่อให้สามารถรักษาส่วนแบ่งการตลาดและฐานลูกค้า
รวมถึงการปรับรูปแบบการขายและรูปแบบการบริหารจัดการของสถานีวิทยุภูมิภาคให้เกิดความคล่องตัว ทั้งนี้
สถานีวิทยุฯ อสมท ที่ได้รับความนิยมมาเป็นอันดับหนึ่งคือ สถานีวิทยุฯ เอฟ.เอ็ม. 95 ลูกทุ่งมหานคร
สถานีวิทยุฯ เอฟ.เอ็ม 97.5 (Seed FM) และสถานีวิทยุฯ เอฟ.เอ็ม. 96.5
ค่าใช้จ่ายรวม ลดลงร้อยละ 1 จากปี 2553 จากการควบคุมค่าใช้จ่ายการขายและบริหารที่ดีขึ้น
ซึ่งค่าใช้จ่ายในการขายลดลงร้อยละ 13
เนื่องจากฝ่ายบริหารคาดการณ์ผลกระทบจากมหาอุทกภัยจึงชะลอการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดออกไปเพื่อลดต้นทุน
สำหรับค่าใช้จ่ายด้านบริหาร ลดลงร้อยละ 5
ถึงแม้จะมีค่าใช้จ่ายในการจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงระบบบัญชีตามมาตรฐานใหม่
และการพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์ ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของโทรทัศน์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6
ซึ่งมาจากค่าใช้จ่ายในการผลิตรายสด และรายการข่าว ค่าใช้จ่ายในการผลิตละคร โครงการ Bangkok City Channel
และค่าใช้จ่ายในการเช่าใช้บริการช่องสัญญาณดาวเทียมไทยคม C-Band/ KU-Band
สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้น
หน่วย ล้านบาท
(ตรวจสอบแล้ว)
2554 2553 ร้อยละ
สินทรัพย์ 10,651 10,517 1
หนี้สิน 2,724 2,781 -2
ส่วนของผู้ถือหุ้น 7,864 7,681 2
บริษัทมีสินทรัพย์โดยรวมเพิ่มขึ้นเป็น 10,651 ล้านบาท และหนี้สินเพิ่มขึ้นเป็น 2,726 ล้านบาท
ในขณะที่ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 7,864 ล้านบาทซึ่งแสดงถึงสถานะที่มั่นคงของบริษัท
อนึ่ง กรณีการปรับปรุงรายได้ผลประโยชน์พิเศษนอกเหนือสัญญา ที่ บมจ. อสมท ได้รับจากบริษัท
บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด จำนวน 405 ล้านบาท ตามหมายเหตุประกอบงบการเงินประจำปี 2554
เป็นการปรับปรุงการบันทึกรายได้ที่แตกต่างจากการบันทึกรายได้ในงบกำไรขาดทุนไตรมาส 3 ของปี 2554
ตามความเห็นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินที่ปรากฏอยู่ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
ซึ่งชี้แจงว่าจากการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลตอบแทนจำนวน 405
ล้านบาทดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับสัญญาเดิม แม้บันทึกข้อตกลงฉบับลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2554 จะระบุว่า
ผลตอบแทนดังกล่าว ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการขยายเวลาร่วมดำเนินกิจการออกไปอีก 10 ปีก็ตาม ทำให้ บมจ.
อสมท จำต้องบันทึกรายได้ผลประโยชน์นอกเหนือสัญญาดังกล่าว เป็นรายได้รอตัดบัญชี โดยจะตัดรายการ
เป็นรายได้ตลอดอายุสัญญาที่เหลือตามวิธีเส้นตรง นับจากวันที่ 22 กรกฎาคม 2554 จนถึงวันที่สัญญาสิ้นสุด ณ
วันที่ 25 มีนาคม 2563 ซึ่งจะมีผลต่องบแสดงฐานะการเงินดังนี้
ภาษีเงินได้ค้างจ่าย ลดลง 115,252,523.66 บาท
รายได้รอตัดบัญชี เพิ่มขึ้น 384,175,078.86 บาท
กำไรสะสม ลดลง 268,922,555.20 บาท
และมีผลต่องบกำไรขาดทุนดังนี้
รายได้ผลประโยชน์ตอบแทนนอกเหนือสัญญาฯ ลดลง 384,175,078.86 บาท
ภาษีเงินได้ ลดลง 115,252,523.66 บาท
กำไรต่อหุ้น ลดลง 0.40 บาท
กรณีดังกล่าว บมจ. อสมท ขอชี้แจงว่า การบันทึกรายได้ผลประโยชน์พิเศษนอกเหนือสัญญาฯ
ทั้งจำนวนในงบกำไรขาดทุนในไตรมาส ที่ 3 ของปี 2554 เป็นการบันทึกรายได้ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ
ซึ่งตามบันทึกข้อตกลงฉบับลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2554 ที่มุ่งประสงค์ให้ผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าว
ไม่เกี่ยวข้องกับการขยายระยะเวลาร่วมดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สีออกไปอีก 10 ปี
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้สอบทานงบการเงินในไตรมาส 3 ของปี 2554 และออกรายงานการสอบทานงบการเงิน
โดยผู้สอบบัญชี ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2554 แบบไม่มีเงื่อนไขในประเด็นดังกล่าวแล้ว
ต่อมาในการจัดทำงบการเงินประจำปี 2554 ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้นำส่ง บมจ. อสมท ณ วันที่ 29
กุมภาพันธ์ 2555
ได้มีการแจ้งให้ปรับปรุงการบันทึกรายได้ผลประโยชน์ตอบแทนนอกเหนือสัญญาในรูปแบบที่กล่าวแล้วข้างต้น บมจ.
อสมท ได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนรอบคอบแล้ว จึงได้ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
______________________________________________________________________
สารสนเทศฉบับนี้จัดทำและเผยแพร่โดยบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข้อมูลหรือเอกสารใดๆของบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์
ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่มีความรับผิดชอบใดๆ
ในความถูกต้องและครบถ้วนของเนื้อหา ตัวเลข รายงานหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในสารสนเทศฉบับนี้
และไม่มีความรับผิดในความสูญเสียหรือเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นไม่ว่าในกรณีใด ในกรณีที่ท่านมีข้อสงสัย
หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ซึ่งได้จัดทำ
และเผยแพร่สารสนเทศฉบับนี้