EN
TH

เมนู

15 พฤศจิกายน 2547

สรุปข้อสนเทศ : MCOT

มีความจำเป็นที่จะต้องลงทุนด้านการผลิตด้วย โดยที่ผ่านมาบริษัทได้มีการลงทุนจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือที่เป็นระบบ ดิจิตอลเพื่อนำมาเปลี่ยนทดแทนของเดิมที่เป็นระบบอนาลอกไปแล้วเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 50 ของงบประมาณ ลงทุนที่ต้องใช้ในการดำเนินการตามแผนงานนี้ บริษัทประมาณว่า จะต้องมีการจัดสรรงบประมาณการลงทุนเพิ่มเติมอีก จำนวนประมาณ 473 ล้านบาท สำหรับการลงทุนในช่วงระยะเวลาอีก 4 ปีข้างหน้า 4. แผนงานขยายพื้นที่บริการกระจายเสียงและโทรทัศน์ทั่วประเทศ บริษัทมีแผนงานที่จะขยายขอบเขตการให้บริการโทรทัศน์ของบริษัทให้ครอบคลุมพื้นที่จำนวนประมาณ 70,000 หมู่บ้านทั่วประเทศภายในปี 2550 โดยจะทำการปรับปรุงประสิทธิภาพสถานีโทรทัศน์ที่มีอยู่เดิม ซึ่งบริษัทได้วางแผน การปรับปรุงประสิทธิภาพสถานีโทรทัศน์และการจัดตั้งสถานีทวนสัญญาณโทรทัศน์เพิ่มเติม โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ตั้งแต่ปี 2547 ถึง ปี 2550 รวมจำนวนสถานีทวนสัญญาณโทรทัศน์ที่บริษัทจะได้จัดตั้งเพิ่มขึ้นทั้งหมด 52 สถานี และม ประชากรในเขตบริการเพิ่มขึ้นอีกจำนวนประมาณ 7,261 หมู่บ้าน ซึ่งเมื่อรวมกับพื้นที่ให้บริการที่ครอบคลุมอยู่เดิม จะทำให้ความสามารถในการให้บริการโทรทัศน์ครอบคลุมพื้นที่ คิดเป็นประมาณร้อยละ 97.3 ของพื้นที่ทั่วประเทศ และมีประชากรในเขตบริการทั้งหมดประมาณ 70,000 หมู่บ้าน ซึ่งขณะนี้ บริษัทกำลังอยู่ในระหว่างรอการพิจารณา อนุมัติจัดตั้งสถานีจาก จากคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ (กกช.) สำหรับการขยายขอบเขตการให้บริการสถานีวิทยุกระจายเสียงของบริษัท บริษัทมีแผนงานที่จะขยายขอบเขต การให้บริการสถานีวิทยุกระจายเสียงให้ครอบคลุมพื้นที่จำนวนประมาณ 70,000 หมู่บ้านทั่วประเทศภายในปี 2550 โดยจะทำการปรับปรุงประสิทธิภาพสถานีเครือข่ายวิทยุกระจายเสียงที่มีอยู่เดิม รวมทั้งจัดตั้งสถานีเครือข่ายวิทยุ กระจายเสียงใหม่เพิ่ม ซึ่งบริษัทได้วางแผนการจัดตั้งสถานีเครือข่ายวิทยุกระจายเสียงเพิ่มเติม โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ตั้งแต่ปี 2547 ถึง ปี 2550 รวมจำนวนสถานีเครือข่ายที่บริษัทจะได้จัดตั้งเพิ่มขึ้นทั้งหมด 65 สถานี และมีประชากรใน เขตพื้นที่เป้าหมายที่ให้บริการเพิ่มขึ้นอีก 4,557 หมู่บ้าน ทำให้ความสามารถในการให้บริการกระจายเสียงของสถานี เครือข่ายวิทยุ อสมท ครอบคลุมพื้นที่คิดเป็นประมาณร้อยละ 98.7 ของพื้นที่ทั่วประเทศ และมีประชากรในเขตพื้นที่ เป้าหมายที่ให้บริการทั้งหมดประมาณ 70,000 หมู่บ้าน แต่ยังมีความไม่แน่นอน เนื่องจากอยู่ระหว่างรอการพิจารณา อนุมัติจัดตั้งสถานีจาก คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ (กกช.) รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5. แผนงานปรับปรุงประสิทธิภาพสถานีเครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์ส่วนภูมิภาค บริษัทมีแผนงานที่จะจัดหาเครื่องส่งโทรทัศน์และอุปกรณ์ทดแทนของเดิมที่เสื่อมสภาพ หมดอายุหรือไม่พร้อมใช้งาน ซึ่งตามแผนงานจะเป็นการปรับปรุงสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ในภูมิภาคจำนวนประมาณ 14 แห่ง โดยคาดว่าจะใช้เงินลงทุน ประมาณ 169.4 ล้านบาท สำหรับการดำเนินการในช่วงระยะเวลา 2 - 3 ปี 6. แผนงานปรับปรุงประสิทธิภาพสถานีวิทยุกระจายเสียงระบบ F.M. ทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค บริษัทมีแผนงานที่จะจัดหาเครื่องจักรอุปกรณ์ทดแทนของเดิมที่เสื่อมสภาพ หมดอายุ หรือไม่พร้อมใช้งาน ตลอดจน จัดหาระบบไฟฟ้าสำรอง (UPS) และจัดหาเครื่องส่งวิทยุ F.M. เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและพัฒนาเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ เสื่อมสภาพจากการใช้งานเป็นเวลานาน รวมถึงจัดเตรียมให้มีระบบไฟฟ้าสำรองและระบบเครื่องส่งที่ประหยัดพลังงานและ ค่าใช้จ่าย ไว้ให้พร้อมสำหรับใช้ประกอบกิจการเชิงธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินลงทุนจำนวนประมาณ 530 ล้านบาท โดยจะเป็นการทยอยลงทุนในช่วงระยะเวลา 2 - 3 ปีข้างหน้า 7. แผนงานการพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับการขยายงานในส่วนกลาง และการจัดหาอุปกรณ์เพื่อพัฒนาศักยภาพในการผลิต และจัดหารายการรวมทั้งเพื่อป้อนให้แก่สื่อต่าง ๆ ของบริษัท บริษัทมีแผนงานที่จะพัฒนาพื้นที่ในส่วนกลางโดยเฉพาะบริเวณสำนักงานใหญ่เพื่อรองรับการขยายงานที่จะมีขึ้นในอนาคต และจะได้ดำเนินการจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องติดตั้งประจำอาคาร เพื่อให้อาคารปฏิบัติการด้านโทรทัศน์และ วิทยุกระจายเสียงซึ่งได้ก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2547 มีวัสดุเครื่องมืออุปกรณ์ด้านเทคนิคทันสมัย พร้อมปฏิบัติงาน ทั้งด้านโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง และข่าวอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถให้บริการสื่อสารมวลชนได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งบริษัทคาดว่าจะใช้เงินลงทุนตามแผนงานนี้ตลอดช่วงระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า เป็นจำนวนรวมกันประมาณ 1,062 ล้านบาท รายการระหว่างกัน 1. รายการระหว่างกันกับบริษัทย่อย และบริษัทที่เกี่ยวข้อง บมจ. อสมท มีรายการระหว่างกันสำหรับรอบบัญชีปี 2546 และรอบ 6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2547 กับบริษัทย่อย และบริษัทที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1.1 รายการค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานกับบริษัทย่อย เป็นรายการค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการดำเนินงานด้านโทรทัศน์และวิทยุ สำหรับรอบ 6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2547 บริษัทย่อย : บริษัท พาโนราม่า เวิลด์ไวด์ จำกัด ความสัมพันธ์กับ บมจ. อสมท : - บมจ. อสมท ถือหุ้นร้อยละ 49.0 - กรรมการของ บมจ. อสมท (นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ นางอรอนงค์ มณีกาญจน์ และนายธงทอง จันทรางศุ) เป็นกรรมการของบริษัท พาโนราม่า เวิลด์ไวด์ จำกัด - ผู้บริหารของ บมจ. อสมท (นางอรัญรัตน์ อยู่คง) เป็นกรรมการของบริษัท พาโนราม่า เวิลด์ไวด์ จำกัด ลักษณะของรายการ : - บมจ. อสมท จ้างบริษัท พาโนราม่า เวิลด์ไวด์ จำกัด เพื่อดำเนินการผลิตรายการให้แก่บริษัทโดยได้ชำระค่า จ้างสำหรับการดำเนินงานดังกล่าวแล้วมูลค่ารายการระหว่างกัน: 2,170,000 บาท - โดยมีเป็นค่าจ้างผลิตรายการที่ บมจ. อสมท ยังมิได้ ชำระให้แก่บริษัท พาโนราม่า เวิลด์ไวด์ จำกัด ซึ่งบริษัท ได้บันทึกบัญชีเป็นรายการเจ้าหนี้การค้า มูลค่ารายการระหว่างกัน : ก. รายการเจ้าหนี้การค้า จำนวน 529,650 บาท ข. รายการเจ้าหนี้อื่น จำนวน 1,170,000 บาท เงื่อนไข/นโยบายราคา : การกำหนดราคาค่าจ้างผลิตรายการที่ชำระให้แก่บริษัท พาโนราม่า เวิลด์ไวด์ จำกัด กำหนดในอัตรา ตามปกติของธุรกิจเช่นเดียวกับที่กำหนดกับบุคคลหรือกิจการอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกัน 1.2 รายการส่วนแบ่งรายได้ตามสัญญาร่วมดำเนินกิจการกับบริษัทที่เกี่ยวข้อง เป็นรายการส่วนแบ่งรายได้ที่ บมจ. อสมท ได้รับอันเนื่องมาจากสัญญาร่วมดำเนินกิจการกับบริษัทที่เกี่ยวข้องตาม ที่ระบุ สำหรับรอบปี 2546 และรอบ 6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2547 1.2.1 บริษัทที่เกี่ยวข้อง : บริษัท ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ความสัมพันธ์กับ บมจ. อสมท : - ผู้บริหารของ บมจ. อสมท (นางอรัญรัตน์ อยู่คง) เป็นกรรมการของบริษัท ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ลักษณะของรายการ : บมจ. อสมท เข้าทำสัญญาร่วมดำเนินกิจการสถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุและให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็น สมาชิกกับบริษัท ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยตามสัญญาดังกล่าว บริษัท ยูไนเต็ด บรอด- คาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ร่วมดำเนินกิจการจะต้องแบ่งรายได้จากการดำเนินกิจการดังกล่าว ให้แก่ บมจ. อสมท มูลค่ารายการระหว่างกัน รอบบัญชีปี 2546 : 291,262,370 บาท รอบ 6 เดือน สิ้นสุด 31 มีนาคม 2547 : 152,596,242 บาท เงื่อนไข/นโยบายราคา : ส่วนแบ่งรายได้ที่ บมจ. อสมท ได้รับจากบริษัท ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นไปตามสัญญา โดยมีอัตราเช่นเดียวกับที่ผู้ร่วมดำเนินกิจการรายอื่นได้รับจากบริษัท และเงื่อนไขตามสัญญา ก็ไม่แตกต่างกับผู้ร่วมดำเนินกิจการที่เป็นบุคคลหรือกิจการอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกัน 1.2.2 บริษัทที่เกี่ยวข้อง : บริษัท ยูบีซี เคเบิ้ล เน็ตเวอร์ค จำกัด (มหาชน) ความสัมพันธ์กับ บมจ. อสมท : - ผู้บริหารของ บมจ. อสมท (นางอรัญรัตน์ อยู่คง) เป็นกรรมการของบริษัท ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ลักษณะของรายการ : บมจ. อสมท เข้าทำสัญญาร่วมดำเนินกิจการสถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุและให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับ เป็นสมาชิกกับบริษัท ยูบีซี เคเบิ้ลเน็ตเวอร์ค จำกัด (มหาชน) โดยตามสัญญาดังกล่าว บริษัท ยูบีซี เคเบิ้ล เน็ตเวอร์ค จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ร่วมดำเนินกิจการจะต้องแบ่งรายได้จากการดำเนินกิจการดังกล่าวให้แก่ บมจ. อสมท มูลค่ารายการระหว่างกัน รอบบัญชีปี 2546 : 142,491,967 บาท รอบ 6 เดือน สิ้นสุด 31 มีนาคม 2547 : 70,138,787 บาท เงื่อนไข/นโยบายราคา : ส่วนแบ่งรายได้ที่ บมจ. อสมท ได้รับจากบริษัท ยูบีซี เคเบิ้ล เน็ตเวอร์ค จำกัด (มหาชน) เป็นไปตามสัญญา โดยมีอัตราเช่นเดียวกับที่ผู้ร่วมดำเนินกิจการรายอื่นได้รับจากบริษัท และเงื่อนไขตามสัญญาก็ไม่แตกต่างกับผู้ร่วม ดำเนินกิจการที่เป็นบุคคลหรือกิจการอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกัน 1.2.3 บริษัทที่เกี่ยวข้อง : บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ความสัมพันธ์กับ บมจ. อสมท : - กรรมการของ บมจ. อสมท (นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์) มีฐานะเป็นผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 โดยตำแหน่ง ตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา ลักษณะของรายการ : บมจ. อสมท เข้าทำสัญญาร่วมดำเนินกิจการสถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุและให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับ เป็นสมาชิกกับบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด โดยตามสัญญาดังกล่าว บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ในฐานะผู้ร่วมดำเนินกิจการจะต้องแบ่งรายได้จากการดำเนินกิจการดังกล่าวให้แก่ บมจ.อสมท มูลค่ารายการระหว่างกัน รอบบัญชีปี 2546 : 58,461,250 บาท รอบ 6 เดือน สิ้นสุด 31 มีนาคม 2547 : 31,294,375 บาท เงื่อนไข/นโยบายราคา : ส่วนแบ่งรายได้ที่ บมจ. อสมท ได้รับจากบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด เป็นไปตามข้อกำหนด ในสัญญา 2. รายการระหว่างกันกับบริษัทที่กรรมการของ บมจ. อสมท เข้าไปเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ บริษัทนั้น บมจ. อสมท มีรายการระหว่างกันกับบริษัทที่ระบุ สำหรับรอบบัญชีปี 2546 และรอบ 6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2547 ดังนี้ 2.1 รายการรายได้จากการดำเนินการ เป็นรายการที่ บมจ. อสมท ขายสินค้าหรือให้บริการแก่บริษัทที่ระบุ บริษัทที่เกี่ยวข้อง : บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ความสัมพันธ์กับ บมจ. อสมท : - กรรมการของ บมจ. อสมท (นายรองพล เจริญพันธุ์) เป็นกรรมการของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ลักษณะของรายการ : บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จ้างให้ บมจ. อสมท ดำเนินการโฆษณาให้โดยมูลค่ารายการที่แสดงไว้เป็น จำนวนค่าจ้างตามสัญญาทั้งหมดที่ บมจ. อสมท มีสิทธิได้รับจากบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) มูลค่ารายการระหว่างกัน รอบบัญชีปี 2546 : 4,831,585 บาท รอบ 6 เดือน สิ้นสุด 31 มีนาคม 2547 : 7,931,315 บาท เงื่อนไข/นโยบายราคา : การกำหนดราคาค่าจ้างเป็นอัตราตามปกติทางธุรกิจเช่นเดียวกับที่คิดกับบุคคลหรือกิจการอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกัน 2.2 รายการลูกหนี้อื่น ๆ เป็นรายการที่ บมจ. อสมท เป็นเจ้าหนี้อื่น ๆ กับบริษัทที่ระบุ 2.2.1 บริษัทที่เกี่ยวข้อง : บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ความสัมพันธ์กับ บมจ. อสมท : - กรรมการของ บมจ. อสมท (นายรองพล เจริญพันธุ์) เป็นกรรมการของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ลักษณะของรายการ : บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จ้างให้ บมจ. อสมท ดำเนินการโฆษณาให้ โดยจำนวนมูลค่ารายการที่แสดงไว้ เป็นจำนวนเงินที่บริษัท กสท โทร-คมนาคม จำกัด (มหาชน) ยังมิได้ชำระเงินค่าจ้างให้ บมจ. อสมท มูลค่ารายการระหว่างกัน รอบบัญชีปี 2546 : 2,838,620 บาท รอบ 6 เดือน สิ้นสุด 31 มีนาคม 2547 : 8,672,360 บาท เงื่อนไข/นโยบายราคา : การกำหนดราคาเป็นอัตราตามปกติทางธุรกิจเช่นเดียวกับที่คิดกับบุคคลหรือกิจการอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกัน 2.2.2 บริษัทที่เกี่ยวข้อง : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ความสัมพันธ์กับ บมจ. อสมท : - กรรมการของ บมจ. อสมท (นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์) เป็นกรรมการของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ลักษณะของรายการ : เป็นรายการที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซื้อโฆษณาจาก บมจ. อสมท มูลค่ารายการระหว่างกัน รอบบัญชีปี 2546 : 2,803,738.32 บาท รอบ 6 เดือน สิ้นสุด 31 มีนาคม 2547 : 11,853738.32 บาท เงื่อนไข/นโยบายราคา : การกำหนดราคาค่าโฆษณาเป็นไปตามอัตราปกติทางธุรกิจเช่นเดียวกับที่คิดกับบุคคลหรือกิจการอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกัน 2.3 รายการเจ้าหนี้อื่น ๆ เป็นรายการที่ บมจ. อสมท เป็นลูกหนี้อื่น ๆ กับบริษัทที่ระบุบริษัทที่เกี่ยวข้อง: บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ความสัมพันธ์กับ บมจ. อสมท : - กรรมการของ บมจ. อสมท (นายรองพล เจริญพันธุ์) เป็นกรรมการของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ลักษณะของรายการ : บมจ. อสมท จ้างบริษัท กสท โทร-คมนาคม จำกัด (มหาชน) ให้ดำเนินการส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่าน ดาวเทียมโดย บมจ. อสมท ยังมิได้ชำระค่าจ้างดังกล่าว มูลค่ารายการระหว่างกัน รอบบัญชีปี 2546 : - รอบ 6 เดือน สิ้นสุด 31 มีนาคม 2547 : 200,000 บาท เงื่อนไข/นโยบายราคา : การกำหนดราคาค่าจ้างเป็นอัตราตามปกติทางธุรกิจเช่นเดียวกับที่คิดกับบุคคลหรือกิจการอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกัน 2.4 รายการค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เป็นรายการที่ บมจ. อสมท ชำระค่าธรรมเนียมในการให้บริการกับบริษัทที่ระบุ สำหรับรอบปี 2546 และรอบ 6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2547 บริษัทที่เกี่ยวข้อง : ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ความสัมพันธ์กับ บมจ. อสมท : - กรรมการของ บมจ. อสมท (นายเรวัต ฉ่ำเฉลิม) เป็นกรรมการของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลักษณะของรายการ : เป็นรายการที่ บมจ. อสมท ใช้บริการด้านการธนาคารต่าง ๆ จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และจ่ายค่าธรรมเนียมการใช้บริการเหล่านั้นให้แก่ธนาคาร เช่น บริการโอนเงิน ค่าสมุดเช็ค เป็นต้น มูลค่ารายการระหว่างกัน รอบบัญชีปี 2546 : 608,338.73 บาท รอบ 6 เดือน สิ้นสุด 31 มีนาคม 2547 : 536,964.85 บาท เงื่อนไข/นโยบายราคา : การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมที่ บมจ. อสมท ต้องชำระให้แก่ธนาคารกรุงไทยเป็นอัตราตามปกติของ ธุรกิจเช่นเดียวกับที่ธนาคารกรุงไทยกำหนดกับบุคคลหรือกิจการอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกัน 3. รายการระหว่างกันระหว่างบริษัทย่อยกับกรรมการของบริษัทย่อย - รายการเงินยืมระยะสั้นของกรรมการ เป็นรายการเงินกู้ยืมระยะสั้นที่บริษัท พาโนราม่า เวิลด์ไวด์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บมจ. อสมท กู้ยืมจากกรรม การของบริษัท พาโนราม่า เวิลด์ไวด์ จำกัด สำหรับรอบ 6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2547 บริษัท/บุคคลที่เกี่ยวข้อง : นางสาวลักษณา จีระจันทร์ ความสัมพันธ์กับ บมจ. อสมท : เป็นผู้บริหารของบริษัท พาโนราม่า เวิลด์ไวด์ จำกัด ลักษณะของรายการ : เป็นการที่บริษัท พาโนราม่า เวิลด์ไวด์ จำกัด กู้ยืมไปเพื่อจ่ายเงินเดือนพนักงาน มูลค่ารายการระหว่างกัน : 400,000 บาท เงื่อนไข/นโยบายราคา : เป็นเงินกู้ประเภทไม่มีดอกเบี้ย ภาระผูกพัน บริษัทมีภาระผูกพันตามสัญญาจ้างเหมาบริการและสัญญาเช่าที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปีตามงบการเงินรวมสำหรับงวด สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2547 เป็นจำนวน 40,930,000 บาทและมีภาระผูกพันตามสัญญาจ้างเหมาบริการและสัญญา เช่าที่มีอายุตั้งแต่ 1 - 5 ปีเป็นจำนวน 55,390,000 บาท รวมจำนวนทั้งสิ้น 96,320,000 บาท นอกจากนี้ บริษัทยังมีภาระ ผูกพันตามรายจ่ายฝ่ายทุนตามงบการเงินรวมสำหรับงวดสิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2547 เพื่อค่าก่อสร้างอาคาร ปฏิบัติการจำนวน 33,520,000 บาทและค่าอุปกรณ์จำนวน 514,680,000 บาท รวมจำนวนทั้งสิ้น 548,200,000 บาท ปัจจัยเสี่ยง 1. ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับบริษัทและการดำเนินธุรกิจของบริษัท 1.1 การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ในการจัดสรรคลื่นความถี่และการกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ - ขณะนี้กฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์นี้กำลังอยู่ในกระบวนการของ การยกร่างเพื่อที่จะนำเสนอให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป จึงอาจส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนในกฎหมาย ว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ - ขณะนี้อยู่ในระหว่างกระบวนการสรรหาบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ ("กสช.") เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ จึงอาจมีความไม่แน่นอนในการกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ - หากในอนาคตได้มีการตรากฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และ/หรือ มีการแต่งตั้ง กสช. และคณะกรรมการร่วมตาม พรบ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ขึ้นมาแล้ว บริษัทไม่สามารถรับรอง ได้ว่า อำนาจ สิทธิ และประโยชน์ในการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ของบริษัทที่เคยได้รับการยกเว้น ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคมดังกล่าวข้างต้น รวมถึงสิทธิตามใบอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุคมนาคมที่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขตามบทบัญญัติแห่ง กฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคมจะถูกกระทบกระเทือนหรือไม่ - ในอนาคต หากบริษัทต้องเป็นผู้รับใบอนุญาตภายใต้เงื่อนไขและหลักเกณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบ กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่จะได้มีการตราขึ้น รวมทั้งข้อกำหนดของ กสช. ตาม พรบ. องค์กรจัดสรรคลื่น ความถี่ฯ แล้ว บริษัทอาจจะต้องแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่นในธุรกิจบันเทิง สื่อวิทยุ และโทรทัศน์ในการยื่นขอรับ ใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์จากองค์กรอิสระที่มีอำนาจตามกฎหมาย และบริษัทอาจจะ ต้องมีการจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตต่าง ๆ ที่ใช้ในการประกอบกิจการตามอัตราที่ กสช. กำหนด ซึ่งบริษัทไม่อาจ รับรองได้ว่าจะเป็นค่าตอบแทนเป็นจำนวนมากหรือน้อยเพียงใด 1.2 ภาระหน้าที่และสิทธิตามสัญญาร่วมดำเนินกิจการ สัญญาร่วมลงทุนหรือสัญญาอื่นใดที่มีต่อบริษัท สำหรับ ผู้ประกอบการเอกชนที่เป็นคู่สัญญาอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม - ปัจจุบันบริษัทมีรายได้ที่ได้รับจากการร่วมดำเนินกิจการกับผู้ประกอบการเอกชนอื่นตามสัญญาร่วม ดำเนินกิจการ ซึ่งมาจาก 2 กิจการหลักที่สำคัญ ได้แก่ กิจการสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อสมท และกิจการโทรทัศน์ ระบบบอกรับเป็นสมาชิกที่ได้ดำเนินการร่วมกับกลุ่มบริษัท ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ กลุ่มยูบีซี โดยที่สัญญาร่วมดำเนินกิจการดังกล่าวยังเป็นสัญญาในลักษณะของสัญญาประเภทสร้าง โอนกรรมสิทธิ์ และดำเนินงาน โดยทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการเอกชนซึ่งเป็นคู่สัญญาได้จัดซื้อหรือสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการประกอบกิจการ ตามสัญญาร่วมดำเนินการจะต้องทำการโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องมือเฉพาะอุปกรณ์หรือสิ่งปลูกสร้างนั้นให้เป็นทรัพย์สิน ของบริษัทตามกำหนดระยะเวลาในสัญญา ดังนั้น บริษัทจึงไม่อาจรับรองได้ว่า คู่สัญญาของบริษัทจะไม่ยกเหตุที่มีการ แปลงสภาพองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยทั้งองค์กรเป็นบริษัทมหาชนจำกัดหรือมีการแต่งตั้ง กสช. แล้วเสร็จ เพื่อใช้เป็นข้ออ้างปฏิเสธการปฏิบัติตามสัญญาที่ทำไว้กับบริษัท 1.3 การประกอบธุรกิจของบริษัทต้องอาศัยและพึ่งพาผู้ประกอบการภายนอกบางส่วน โดยเฉพาะบริษัทผู้จัดและ ผู้ผลิตรายการอิสระในการผลิตและจัดหารายการเพื่อป้อนเป็นวัตถุดิบให้แก่สถานีโทรทัศน์ - หากบริษัทผู้จัดและบริษัทผู้ผลิตรายการเหล่านี้ไม่สามารถสร้างสรรรายการให้เป็นที่พึงพอใจของผู้ชมได้ หรือไม่สามารถทำการผลิตหรือจัดหารายการเพื่อป้อนให้แก่บริษัทได้อีกต่อไป ก็อาจส่งผลต่อศักยภาพและความ สามารถของบริษัทในการจัดหารายการที่มีคุณภาพ ที่จะทำให้เกิดผลกระทบในทางลบอย่างมีนัยสำคัญต่อการดำเนินงาน ของบริษัท 1.4 ผลการดำเนินงานของบริษัทขึ้นอยู่กับภาวะอุตสาหกรรมโฆษณา - เนื่องจาก ในปัจจุบันรายได้หลักของบริษัทเป็นรายได้จากการขายโฆษณา และจะมีรายได้บางส่วนที่มาจาก การให้เช่าเวลา ดังนั้น ผลการดำเนินงานของบริษัทจึงขึ้นอยู่กับความนิยมของผู้ชม และภาวะอุตสาหกรรมโฆษณา โดยทั่วไป ดังนั้น บริษัทไม่อาจรับรองได้ว่า บริษัทจะสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมโฆษณา เพื่อรักษาหรือแย่งชิงส่วนแบ่งรายได้จากการขายโฆษณาที่อาจมีเพิ่มขึ้นในอนาคตนี้ได้ 1.5 การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และผังรายการ รวมถึงการสร้างบุคลิกของสถานีโทรทัศน์ที่จะมีขึ้นในอนาคตอาจ ไม่ได้รับผลตอบสนองที่ดีจากผู้ชมเหมือนเช่นที่ผ่านมา และบริษัทอาจไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลง ที่รวดเร็วในพฤติกรรมและกระแสความนิยมของผู้ชม - เนื่องจากผู้ประกอบการรายอื่นที่ให้บริการสื่อโทรทัศน์ต่างก็ได้ทำการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และผังรายการ ของตนเช่นกัน เพื่อที่จะช่วงชิงทั้งกลุ่มผู้ชมเป้าหมายและเม็ดเงินที่ใช้จ่ายด้านโฆษณาของผู้โฆษณาต่าง ๆ รวมทั้งพฤติกรรม และกระแสความนิยมของผู้ชมในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น บริษัทจึงไม่สามารถรับรองได้ว่า การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และผังรายการในอนาคตของบริษัทจะประสบความสำเร็จเหมือนเช่นเดียวกันกับการปรับเปลี่ยน ที่ผ่านมา 1.6 บริษัทอาจไม่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาโครงการ MCOT Television หรือ MCOT TV และเงินลงทุน ที่ต้องใช้ในโครงการนี้อาจสูงกว่าที่บริษัทคาดหมาย - โครงการ MCOT TV นี้อาจมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมาก ทั้งยังจะต้องอาศัยบุคลากร ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการดำเนินงาน เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นโครงการใหม่สำหรับบริษัท ประกอบกับ บริษัทและบุคลากรที่มีอยู่ก็ยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการดำเนินโครงการในลักษณะเช่นนี้ และบริษัทยังคาดว่า การดำเนินการตามโครงการนี้จะต้องแข่งขันกับคู่แข่งในต่างประเทศที่มีความพร้อมทั้งเงินทุน เทคโนโลยี บุคลากรและ ประสบการณ์ ด้วยเหตุต่าง ๆ ดังกล่าว บริษัทจึงไม่อาจรับรองได้ว่า หากบริษัทได้ตัดสินใจที่จะดำเนินโครงการนี้แล้ว ความพยายามของบริษัทในการพัฒนาโครงการนี้จะประสบความสำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่บริษัทได้ตั้งเป้าหมาย ไว้หรือไม่ และเงินที่จำเป็นต้องใช้ในการลงทุนโครงการดังกล่าวอาจเกินกว่างบประมาณที่บริษัทตั้งไว้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบ ต่อรายจ่ายลงทุนของบริษัทในอนาคตได้ 1.7 บริษัทไม่เคยดำเนินงานในรูปแบบของบริษัทมหาชนจำกัดเนื่องจาก บมจ. อสมท เป็นบริษัทที่แปลงสภาพ มาจากองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกา - คณะกรรมการและผู้บริหารของ บมจ. อสมท ต้องปรับตัวให้เข้ากับระบบธรรมาภิบาลและการกำกับดูแล (ยังมีต่อ)